บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ยึดมั่นในอุดมการณ์ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม ถือปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี การมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน พนักงาน ผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงกล่าวได้ว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการเติบโตอย่าง ยั่งยืนของบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบรรษัทภิบาล หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) เนื่องจากเป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงกล่าวได้ว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มมูลค่า และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้นำ “หลักการกำกับดูแลกิจการ” ตามที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ซึ่งมีสาระสำคัญแบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 : สิทธิของผู้ถือหุ้น
หมวดที่ 2 : การปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม
หมวดที่ 3 : การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
หมวดที่ 4 : การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
หมวดที่ 5 : ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
บริษัทฯ เคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น เช่น สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปแบบของเงินปันผล สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการลงคะแนนเสียง สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร บริษัทฯ มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ก่อนที่จะจัดส่งเอกสารให้ผู้ถือหุ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีเวลาศึกษาข้อมูลประกอบการประชุมล่วงหน้าอย่างเพียงพอ
การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ถือเป็นปรัชญาหนึ่งที่บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ตระหนักและให้ความสำคัญ เพราะหากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้วจะพบว่า บริษัทฯ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม การประกอบธุรกิจของบริษัทฯ จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ตั้งแต่ลูกค้า ภาพลักษณ์ของบริษัทฯ พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่ค้า คู่แข่งขัน และอื่นๆ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นส่วนสำคัญที่ต้องมีการดำเนินการควบคู่ไปกับการทำธุรกิจของบริษัทฯ
ด้วยบริษัทฯ ตระหนักถึงการประกอบธุรกิจอย่างด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยเริ่มจากภายในบริษัทฯ ก่อน จึงได้มีการกำหนดนโยบายให้ภายในสำนักงานเป็นที่ทำงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Office) โดยมีการกำหนดนโยบายในเรื่องต่างๆ โดยสรุปดังนี้
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทยังมีนโยบายที่จะจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินการธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (คณะกรรมการชุดย่อย) ในการช่วยคณะกรรมการบริษัทในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งมีบทบาทหน้าที่โดยสังเขปดังนี้