แนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ
BUSINESS CODE OF CONDUCT

บริษัทฯ มีนโนบายหลักว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของการปฏิบัติงานโดยชอบ บริษัทฯ ประสงค์ที่จะให้พนักงานปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดนี้ และให้รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน บริษัทฯ มีจุดประสงค์ให้พนักงานทุกท่านได้อ่านและทำความเข้าใจอย่างแท้จริงพร้อมทั้งยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยเนื้อหาของแนวปฏิบัติดังกล่าวมุ่งหมายให้ครอบคลุมถึงการกระทำของพนักงาน และความสัมพันธ์ของหนักงานกับบุคคลภายนอก บริษัทฯ จะยึดถือตามแนวปฏิบัตินี้ และใช้บังคับอย่างเคร่งครัด

1. การดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม (COMMITMENT TO BUSINESS INTERGRITY)
ชื่อเสียงของบริษัทฯ ด้านความซื่อสัตย์ทางธุรกิจเป็นสมบัติอันมีค่าสูงสุด พนักงานทุกท่านมีหน้าที่ในการรักษาชื่อเสียงดังกล่าว ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ความรับผิดชอบของตนโดยมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานหลัก อันจะนำมาซึ่งความเป็นที่เชื่อถือ และผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า

2. การปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติตามจารีต ประเพณี และศีลธรรมอันดี
(LAW / REGULATIONS / MARKET PRACTICES)
การดำเนินการใดๆของพนักงาน (ทั้งในนามส่วนตัวและในนามบริษัทฯ) และการดำเนินการของบริษัทฯเองต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายข้อบังคับต่างๆ อาทิเช่น กฎหมายของประเทศ กฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานรัฐบาล จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ พนักงานต้องไม่มีส่วนรู้เห็นช่วยเหลือ หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดฝ่าฝืนกฎหมายต่างๆ

3. การจัดทำบันทึกและรายงานต่างๆ อย่างถูกต้องสมบูรณ์ (RECORDS AND REPORTS)
ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละด้าน จะต้องถูกจัดเก็บรวบรวมอย่างถูกต้อง ข้อมูลสำคัญๆต่างๆ ต้องมีความครบถ้วน และสามารถนำออกมาใช้ได้ตลอดเวลา

4. การให้ข้อมูลที่เป็นความจริง
(TRUTHFULNESS)
การให้ข้อมูลข่าวสารใดๆ ของพนักงานแก่ลูกค้าหรือบุคคลอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ทั้งในรูปเอกสารหรือด้วยการบอกกล่าวในนามของบริษัทฯ พนักงานต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ตรงประเด็นและเป็นความจริงเท่านั้น

5. การรักษาความลับลูกค้า (CLIENT’S CONFIDENTIALITY)
ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับลูกค้าทั้งหมด จะต้องถูกพิจารณาและเก็บรักษา เป็นความลับที่สุด และต้องไม่นำไปเปิดเผย หากไม่ได้รับอนุญาตจากลูกค้าหรือจากผู้มีอำนาจ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่ต้องเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก พนักงานควรปรึกษาผู้บังคับบัญชาและฝ่ายกฎหมาย เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมาย

6. การมีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับลูกค้า
(SUFFICIENCY OF CLIENT INFORMATION)
พนักงานมีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าให้ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้วิเคราะห์หรือตัดสินใจ เพื่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

7. การขัดกันของผลประโยชน์ (CONFLICT OF INTEREST)
ผลประโยชน์ของลูกค้า และบริษัทฯ ต้องมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อให้พนักงานทุกท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง ปราศจากอคติอันเกิดจากการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของตน กับลูกค้า และ/หรือ บริษัทฯพนักงานจะต้องประพฤติปฏิบัติในแนวทางซึ่งทำให้เชื่อแน่ว่าไม่มีการขัดกัน หรือแม้แต่ปรากฏว่าเป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตัวของพนักงานต่อหน้าที่จะต้องกระทำให้แก่บริษัทฯ หรือต่อลูกค้าของบริษัทฯ พนักงานจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการขัดกันของผลโยชน์ดังกล่าว เช่น ไม่รับค่าตอบแทนใด ๆ ที่เกินสมควรจากลูกค้าอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามปกติ ไม่ใช้ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวใด ๆ พนักงานจะต้องเปิดเผยในสาระสำคัญทั้งการที่ตน หรือครอบครัวเป็นเจ้าของกิจการมีส่วนได้ส่วนเสียในผลประโยชน์ของลูกค้า หรือคู่แข่งของบริษัทฯ เป็นต้น หากมีความสงสัยว่าการกระทำนั้น ๆ จะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือไม่ ให้ขอความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาโดยตรง หรือฝ่ายกำกับดูแลฯ

8. การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า
(APPROPRIATION OF CLIENT’S ASSETS)
ความไว้วางใจที่ลูกค้ามีต่อบริษัทฯ เป็นสิ่งมีค่า ที่พนักงานต้องช่วยกันรักษาไว้ ทรัพย์สินต่าง ๆ ของลูกค้าจะต้องถูกแยกอย่างชัดเจนจากทรัพย์สินของพนักงาน หรือของบริษัทฯ ทั้งในแง่ตัวเลขทางบัญชีและการจัดเก็บตัวทรัพย์สิน พนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวัง รอบคอบอย่างสม่ำเสมอ

9. การปฏิบัติงานโดยใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถและความเป็นมืออาชีพ (PROFESSIONALSIM AND DILIGENCE)
พนักงานต้องใช้ความพยายามในการรักษามาตรฐานความรู้ ความสามารถอย่างมืออาชีพในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง พนักงานต้องมีความรับผิดชอบในการทำความเข้าใจในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบในการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะรักษาระดับความสามารถในการปฏิบัติงาน และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า และบริษัทฯ

10. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมภายนอก และองค์กรชุมชนต่าง ๆ
(SOCIAL AFFILIATION)
พนักงานสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมภายนอกที่เหมาะสม ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และนำพาซึ่งชื่อเสียงให้แก่บริษัทฯ ได้ บริษัทฯ สนับสนุนกิจกรรมภายนอกที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และไม่เบียดบังเวลาของพนักงานที่ควรจะอุทิศให้แก่การทำงานอย่างเต็มที่ เช่น การช่วยเหลือองค์การสาธารณกุศล การบำเพ็ญประโยชน์เนื่องในโอกาสสำคัญาต่างๆ

11. การจัดให้มีการควบคุมภายในที่เหมาะสม ในกิจกรรมทุกด้านของบริษัทฯ ตลอดจนการกำหนด/พัฒนาระเบียบ มาตรฐานของการปฏิบัติงานภายในบริษัทฯ (INTERNAL CONTROL AWARENESS)
พนักงานทุกท่านต้องมีความเข้าใจ และตระหนักถึงความจำเป็นของการควบคุมภายใน ในกิจกรมทุกด้านของบริษัทฯ พนักงานทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาระเบียบมาตรฐานของการปฏิบัติงาน และช่วยเสริมสร้างการความคุมภายในที่เหมาะสมได้ โดยการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในงานที่ตนปฏิบัติ และหากพบจุดใดเป็นข้อบกพร่องก็ต้องพยายามแก้ไขและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบ เพื่อช่วยกันป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อตนเอง หน่วยงาน และบริษัทฯ

12. การเปิดเผยข้อมูลและให้ความร่วมมือกับองค์กรกำกับดูแลทั้งภายในและภายนอก
(MEMBER AFFILIATION)
องค์กรกำกับดูแลเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ เพื่อความมีชื่อเสียงที่ดีของบริษัทฯ ในธุรกิจและความเจริญมั่นคงในระยะยาว การเปิดเผยข้อมูลและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานดังกล่าว ทั้งที่เป็นหน่วยงานภายในบริษัทฯ และหน่วยงานของทางราชการ จึงมีความจำเป็นและสำคัญที่จะต้องปฏิบัติ เช่น การตอบข้อซักถามต่าง ๆ ตลอดจนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ดังกล่าว

13. การเปิดเผยข้อมูลระหว่างสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ และการรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิก (MEMBER AFFILIATION)
สัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกเป็นสิ่งซึ่งควรสร้างให้เกิดขึ้น และช่วยกันดำรงรักษาไว้ เพื่อเสถียรภาพและความก้าวหน้าของธุรกิจโดยรวม ซึ่งรวมไปถึงการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์และสามารถเปิดเผยได้ (ที่ไม่เป็นข้อมูลความลับในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ) เช่น การถ่ายทอดความรู้ การให้คำปรึกษาระหว่างกัน การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

14. การปฏิบัติและการยึดมั่นในนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชั่น
(ANTI-CORRUPTION POLICY)
การประกอบธุรกิจด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต จะต้องปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งปวง บริษัทต้องดำเนินการและให้ความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงผลเสียของการทุจริต คอร์รัปชั่น และการติดสินบน และมีวิธีการ กระบวนการเพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการสุจริต คอร์รัปชั่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ให้เกิดขึ้นในองค์กร เช่น แนวทางในการดำเนินงานของ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) เป็นต้น

Copyright © 2020 Beyond Securities Public Company Limited. All rights reserved. | นโยบายความเป็นส่วนตัวและนโยบายการใช้คุกกี้